บทความวิชาการ/ข่าวสาร News and Topics
ชนิดการให้ความร้อนด้วยวิธีทางไฟฟ้า การให้ความร้อนด้วยวิธีการใช้ไฟฟ้านั้นสามารถที่จะให้ได้ในหลากหลายรูปแบบด้วยกันและในแต่ละชนิดของการให้ความร้อนนั้นก็จะมีความยากง่ายแตกต่างกันออกไปซึ่งเราสามารถที่จะแยกแยะแล้วก็เรียงลำดับให้เห็นถึงชนิดแระความยากง่ายในขบวนการการให้ความร้อนทางไฟฟ้าดังต่อไปนี้ Resistance Heating Conduction Heating Induction Heating Dielectric Hysteresis Heating Electric Arc Heating Plasma Heating Electron Beam Heating Laser Heating หลักการพื้นฐานในการให้ความร้อนแบบเหนี่ยวนำ ( Induction Heaing) เบื้องต้นเท่านั้นและขดลวดเหนี่ยวนำซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญสำหรับการให้ความร้อนแบบเหนี่ยวนำหลักการพื้นฐานสำหรับการให้ความร้อนแบบเหนี่ยวนำสามารถอธิบายให้เห็นได้ชัดเจนโดยเปรียบเทียบกับหลักการของหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ'งประกอบไปด้วยขดลวดปฐมภูมิและทุติยภูมิ( primary and secondery winding ) โดยขดลวดเหนี่ยวนำเปรียบเสมือนขดลวดปฐมภูมิของหม้อแปลงและชิ้นงานก็เปรียบเสมือนขดลวดทุติยภูมิจำนวน1รอบที่ถูกลัดวงจรเอาไว้โดย เป็นกระแสที่จ่ายให้กับขดลวดเหนี่ยวนำ,เป็นกระแสที่ไหลในชิ้นงานดังวงจรสมมูล
ีี้ีีวิธีการควบคุมกำลังไฟฟ้าของระบบเหนี่ยวนำความร้อน การควบคุมกำลังไฟฟ้าของวงจรอินเวอร์เตอร์เรโซแนนท์ชนิดอนุกรมสามารถควบคุมได้หลักๆจะเป็นที่นิยมใช้กันนั้นมีอยู่4แบบคือ การปรับควบคุมกำลังไฟฟ้าด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนความถี่ การปรับควบคุมกำลังไฟฟ้าด้วยวิธีการปรับเลื่่อนมุมเฟส การปรับควบคุมกำลังไฟฟ้าด้วยวิธีการปรับความหนาแน่นของสัญญาณ การปรับควบคุมกำลังไฟฟ้าด้วยวิ๊การปรับแรงดันไฟฟ้าทางด้านขาเข้า ซึ่งในแต่ละแบบนั้นก็จะมีข้อดีและข้อด้อยที่แตกต่างกันออกไปรวมทั้งมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปโดยในรายละเอียดของแต่ละชนิดนั้นจะได้กล่าวถึงในลำดับต่อไป วิธีการปรับเปลี่ยนความถี่ (Frequency Control) [5] การปรับควบคุมกำลังไฟฟ้าในกรณีนี้สามารถทำได้โดยปรับความถี่สวิตชิ่งของวงจรอินเวอร์เตอร์โดยจะได้ลักษณะคลื่นแรงดันและกระแสที่โหลดดังในรูปที่ 2.22ซึ่งจะเห็นได้ว่าที่ความถี่สวิตชิ่งน้อยกว่าหรือมากกว่าความถี่เรโซแนนท์ดังรูปที่ 2.22(ก)และรูปที่2.22(ข) จะได้ปริมาณกระแสที่ลดลงส่วนที่ความถี่สวิตชิ่งเท่ากับความถี่เรโซแนนท์ดังแสดงในรูปที่ 2.22 (ค) จะได้กระแสที่มีปริมาณสูงสุดดังนั้นเมื่อนำมาเขียนเป็นเส้นกราฟแสดงความสำพันธ์ระหว่างกำลังไฟฟ้าเอ้าท์พุทของอินเวอร์เตอร์กับค่าความถี่สวิตชิ่งที่เปลี่ยนแปลงจะได้ดังรูปที่ 2.23 ซึ่งจะเห็นว่ากำลังไฟฟ้าเอ้าท์พุทของอินเวอร์เตอร์จะมีค่าสูงสุดที่สวิตชิ่งเท่ากับความถี่เรโซแนนท์และจะได้กำลังไฟฟ้าลดต่ำลงที่ความถี่สวิตชิ่งน้อยกว่ากับมากกว่าความถี่เรโซแนนท์การควบคุมกำลังไฟฟ้าด้วยวิธีการปรับความถี่นี่จะมีข้อดีคือระบบควบคุมไม่ซับซ้อนแต่มีข้อจำกัดคือจะมีการสูญเสียที่ตัวสวิทช์และเมื่อปรับความถี่สวิตชิ่งให้มีค่าสูงขึ้นก็จะทำให้กระแสเพี้ยนไปจากลักษณะคลื่นไซน์มากขึ้นทำให้เกิดกระแสฮาร์โมนิคเกิดขึ้นตามมาด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ค่า Qของวงจรเรโซแนนท์มีค่าต่ำลง